ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภารกิจ(Mission)

ภารกิจ(Mission) หรือ ภารกิจของธุรกิจ (Business mission) เป็นพื้นฐานของการกำหนดการจัดลำดับกลยุทธ์ แผน และการออกแบบงาน ในจุดเริ่มต้นของการออกแบบงานการบริหารการออกแบบโครงสร้างการบริหารไม่มีสิ่งใดง่าย หรือปรากฎชัดเจนที่จะทราบว่าธุรกิจของบริษัทคืออะไร

ภารกิจองค์การ(Prganizational mission) เป็นข้องความที่เกี่่ยวกับการกำหนดกิจกรรมขององค์การ และลักษณะงานของธุรกิจ

ข้อความภารกิจ(Mission statement) จะเป็นการระบุจุดมุ่งหมายซึ่งแสดงความแตกต่างของธุรกิจหนึ่ง จากอีกธุรกิจหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน หรือทำธุรกิจเดียวกัน ข้อความภารกิจจะระบุขอบเขตการปฏิบัติการของธุรกิจเกียวกับผลิตภัณฑ์และตลาด คำถามพื้นฐานซึ่งผู้กำหนดกลยุทธ์ต้องเผชิญคือ ธุรกิจของเราคืออะไร ข้อความภารกิจที่ชัดเจนจะอธิบายถึ่งค่านิยมและลำดับความสำคัญต่าง ๆ ขององค์การ การพัฒนาข้อความภารกิจขึ้นอยุ่กับผู้กำหนดกลยุทธ์ เพราะต้องคิดเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการปฏิบัติการในปัจจุบันเพืือประเมนการจูงใจที่มีศักยภาพของตลาดและกิจกรรมใจอนาคต ข้อความภารกิจจะกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ

ตัวอย่างข้อความภารกิจของบริษัทต่าง ๆ มีดังนี้
-เราต้องประสบความสำเร็จอย่างสูง
-เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมและเป็นธุรกิจที่เอาตัวรอดได้
-เป็นผู้นำด้านเทคโนโยลี
-มีเคมีภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เหนือกว่า
-เรามุ่งที่ความเจริญเติมโตและกำไร
-พัฒนาธุรกิจใหม่จากเทคโนโลยีและการจัดหาปัจจัยการผลิต
-ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักในด้านคุณภาพ
-พนักงานมีชีวิตการทำงานที่ท้าทาย มีความกระตือรือร้น ได้รับรางวัลจากบรรยากาศที่เป้นเมิตรจากการทำงานเป็นทีม และการยอมรับนวัตกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างประโยชน์ต่อสังคม


ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ