ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์-ความหมายที่3

การบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) เป็นศาสตร์และศิลป์ในการกำหนด
1.กลยุทธ์(Strategy formulation)
2.การปฎิบัติการตามกลยุทธ์(Strategiy implementation)
3.การประเมินผลกลยุทธ์ (Strategy evaluation) (David.1997:5)
ในการบริหารเชิงกลยุทธ์จะมุ่งที่การประสมประสาน การจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต การดำเนินงาน การวิจัยและการพัฒนาระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้บรรลุความสำเร็จขององค์การ การบริหารเชิงกลยุทธ์อาจเรียกว่า นโยบายธุรกิจ (Business policy)

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ