ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนในการบริหารเชิงกลยุทธ์-ขั้นที่2

การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic planning) และ การกำหนดกลยุทธ์(Strategy formulation)

ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate level strategy) ประกอบด้วย
ขั้นตอนปัจจัยนำเข้า(The input stage)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน (Internal Factor Evaluation (IFE) matrix)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก(Extermal Factor Evaluation (EFE) matrix)
-แมททริกซ์โครงร่างการแข่งขัน(The Competitive Profile Matrix (CPM))

ขั้นตอนการจับคู่ (The matching stage)
-แมททริกซ์อุปสรรค-โอกาศ-จุดอ่อน-จุดแข็ง (Threats-Opportunities-Weaknesses-Strengths (TOWS matrix)
-แมททริกซ์ตำแหน่งกลยุทธ์และการประเมินการปฏิบัติ (Strengths Position and Action Evaluation (SPACE) matrix)
-กลยุทธ์การจัดสรรทรัพยากร-แมททริกซ์กลุ่มที่ปรึกษาบอสตัน (Boston Consult Group (BCG) matrix)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน-การประเมินปัจจัยภายนอก (Internal External (IE) matrix)
-แมททริกซ์กลยุทธ์หลัก (Grand Strategic (GS) matrix)

ขั้นตอนการตัดสินใจ (The decision stage)
-แมททริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ (Quantitative Strategic Planing Matrix (QSPM))
นอกจากการวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัทด้วยเครื่องมือดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะใช้แมททริกซ์ความดึงดูดของอุตสาหกรรม,ตำแหน่งธุรกิจ (The industry attractiveness-businesss position matrix) และแมททริกซ์วงจรชีวิตตลาด-จุดแข็งการแข่งขัน (The market life cycle-competitive strength matrix) มาใช้ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน

ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business level strategy) การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
ประกอบด้วย
-ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantages) หรือ การสร้างความแตกต่าง(Differentiation)
-ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน(Cost leadership)
-การปรับตัวที่รวดเร็ว (Quick-response)
-การมุ่งที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก (Focus)

ระดับที่่ 3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional level strategy) การสร้างคุณค่าในสายตาของลูกค้า
ประกอบด้วย
-การตลาด (marketing)
-การปฎิบัติการ (Opetations) หรือ การผลิต (Production)
-การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
-การบัญชี (Accounting)
-การเงิน (Financial)
-การจัดซื้อ(Purchasing)
-การบริหารงานบุคคล (Human resource management)

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ